นวัตกรรม
เทคโนโลยีและสารสนเทศ
ความหมายของนวัตกรรมและนวัตกรรมการศึกษา
นวัตกรรม (Innovation)
ทอมัส ฮิวช์ (Thomas
Hughes) ได้ให้ความหมายของ “นวัตกรรม” ว่า เป็นการนำวิธีการใหม่ ๆ
มาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้น ๆ แล้ว
เริ่มตั้งแต่การคิดค้น (Invention) การพัฒนา (Development)
ซึ่งอาจจะเป็นไปในรูปของ โครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project) แล้วจึงนำไปปฏิบัติจริง
ซึ่งมีความแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา
มอร์ตัน (Morton,J.A.) ให้ความหมาย “นวัตกรรม” ว่าเป็นการทำให้ใหม่ขึ้นอีกครั้ง(Renewal)
ซึ่งหมายถึง
การปรับปรุงสิ่งเก่าและพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ตลอดจนหน่วยงาน หรือองค์การนั้น
ๆ นวัตกรรม ไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมดไป แต่เป็นการ
ปรับปรุงเสริมแต่งและพัฒนา(boonpanedt01.htm)
กิดานันท์ มลิทอง (2540 : 245) ได้กล่าวไว้ว่า
นวัตกรรมเป็นแนวความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ
ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อนหรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้
ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น
เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและ
ประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วยประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย
ดังนั้น นวัตกรรม หมายถึง
การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยที่ยังไม่มีมาก่อนหรือดัดแปลงจากของเดิมอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้น
เทคโนโลยี (Technology)
ผดุงยศ ดวงมาลา (2523
: 16) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีว่าปัจจุบันมีความหมายกว้างกว่ารากศัพท์เดิม
คือ หมายถึงกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรกล สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ทาง อุตสาหกรรม
ถ้าในแง่ของความรู้ เทคโนโลยีจะหมายถึง
ความรู้หรือศาสตร์ที่เกี่ยวกับเทคนิคการผลิตในอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่น ๆ
ที่จะเอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ หรืออาจสรุปว่า เทคโนโลยี คือ
ความรู้ที่มนุษย์ใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์แก่มนุษย์เอง ทั้งในแง่ความเป็นอยู่และการควบคุมสิ่งแวดล้อม
ธรรมนูญ โรจนะบุรานนท์ (2531 : 170) กล่าวว่า เทคโนโลยี คือ
ความรู้วิชาการรวมกับความรู้วิธีการ
และความชำนาญที่สามารถนำไปปฏิบัติภารกิจให้มีประสิทธิภาพสูง
โดยปกติเทคโนโลยีนั้นมีความรู้วิทยาศาสตร์รวมอยู่ด้วย นั้นคือวิทยาศาสตร์เป็นความรู้
เทคโนโลยีเป็นการนำความรู้ไปใช้ในทางปฏิบัติ จึงมักนิยมใช้สองคำด้วยกัน คือ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเน้นให้เข้าใจว่า
ทั้งสองอย่างนี้ต้องควบคู่กันไปจึงจะมีประสิทธิภาพสูง
ชำนาญ เชาวกีรติพงศ์ (2534 : 5) ได้ให้ความหมายสั้น ๆ ว่า เทคโนโลยี
หมายถึง วิชาที่ว่าด้วยการประกอบวัตถุเป็นอุตสาหกรรม หรือวิชาช่างอุตสาหกรรม
หรือการนำเอาวิทยาศาสตร์มาใช้ในทางปฏิบัติ
จากการที่มีผู้ให้ความหมายของ เทคโนโลยีไว้หลากหลาย
สรุปได้ว่า เทคโนโลยี หมายถึง วิชาที่นำเอาวิทยาการทางวิทยาศาสตร์และศาสตร์อื่น ๆ
มาประยุกต์ใช้ตามความต้องการของมนุษย์ เช่น โรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น
ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงกล่าวถึงความหมายของเทคโนโลยีเป็นภาษา ง่าย ๆ
ว่า หมายถึง การรู้จักนำมาทำให้เป็นประโยชน์นั่นเอง (เย็นใจ เลาหวณิช. 2530 : 67)
ดังนั้น เทคโนโลยี หมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์
เหมาะสมกับความต้องการของมนุษย์
เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information
Technology)
บีแฮนและโฮลัมส์
ให้ความหมายไว้ว่า "เทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึง
เทคโนโลยีที่ทำให้มนุษย์สามารถสร้างระบบสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จนทำให้เกิดประสิทธิผลและประโยชน์อย่างมหาศาล ได้แก่ การใช้ทำเบียนข้อมูล
การจัดเก็บ การประมวลผลการค้นคืน การส่งและรับสารสานเทศต่าง ๆ
ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ต่าง ๆ เช่น คอมพิวเตอร์ โทรสาร โทรคมนาคม
และไมโครอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งเทคโนโลยีเดิมที่ใช้ในระบบจัดเรียงเอกสาร เครื่องทำบัญชีอัตโนมัติ
เป็นต้น"
ลูคัส จูเนียร์ (Lucas,JR
1997 : 7 ) กล่าวว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง
รูปแบบของเทคโนโลยีทุกประเภท ที่นำมา ประยุกต์ใช้ เพื่อการประมวลผล การจัดเก็บ
กมลรัฐ อินทรทัศน์
(2550) ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ
หมายถึง การนำเทคโนโลยีมาใช้สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสารสนเทศทำให้สารสนเทศมีประโยชน์
และใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศ
ยังเอื้อประโยชน์ทำให้การสื่อสารกัน และกันของมนุษย์ทำได้อย่างไร้ขีดจำกัดมากขึ้น
ทั้งนี้อาจแบ่งประเภทของเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารออกเป็นประเภทหลัก ๆ ได้ 3 ประเภท คือ อินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต และเวิร์ล ไวด์ เว็บ
ดังนั้น เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การนำเทคโนโลยีมาใช้
เพื่อให้เกิดประสิทธิผลและประโยชน์
และใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น
ประโยชน์ของนวัตกรรมเทโนโลยีสารสนเทศ
1. ทำให้เกิดการเรียนรู้ได้เร็วขึ้น
2. ทำให้ได้รับประสบการณ์ที่หลากหลายจากการาเรียนรู้
3. ไม่ทำให้เกิดความเบื่อหน่ายในการเรียน
4. ทำให้โลกของผู้เรียนกว่างขึ้นไม่จำกัดอยู่แต่ในวงแคบ
ๆของการศึกษาแบบเก่า
5.เป็นการเปิดโอกาสให้เด็กกลายเป็นผู้ที่มีความคิดที่อยากจะเป็นนักพัฒนาและมีความคิดสร้างสรรค์
การเกิดของนวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ
การก่อเกิดนวัตกรรมประเภทต่าง ๆ ในปัจจุบัน
ล้วนมาจากการพัฒนาสื่อและเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา คือ
1. การรวมตัวของสื่อ
2. สื่อขนาดเล็ก
3. ความก้าวหน้าของคอมพิวเตอร์
4. ระบบการสื่อสารโทรคมนาคม
5. เทคโนโลยีสารสนเทศ Information
Technology : IT
6. อินเทอร์เน็ต และเวิลด์ไวด์เว็บ (Internet
& World Wide Web : www)
7. ทางด่วนสารสนเทศ (Information
Superhighway)
8. การบันทึกความจำด้วยแสง (Optical
memory)
ตัวอย่าง
ตัวอย่าง 1
ตัวอย่าง 2
ความแตกต่างระหว่างนวัฒกรรมกับเทคโนโลยี
นวัตกรรม
ความหมายของ นวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation )” หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา
และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม
เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษา และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย
ในปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากมายหลายอย่าง
ซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันอย่างแพร่หลายแล้ว และประเภทที่กำลังเผยแพร่ เช่น
การเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Aids Instruction) การใช้แผ่นวิดีทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ
( Hypermedia ) และอินเทอร์เน็ต [Internet] เหล่านี้ เป็นต้น “นวัตกรรมทางการศึกษา” (Educational Innovation) หมายถึง
การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ
รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน
และช่วยให้ประหยัดเวลา
นวัตกรรม
เทคโนโลยีและสารสนเทศ
ความหมายของนวัตกรรมและนวัตกรรมการศึกษา
นวัตกรรม (Innovation)
ทอมัส ฮิวช์ (Thomas
Hughes) ได้ให้ความหมายของ “นวัตกรรม” ว่า เป็นการนำวิธีการใหม่ ๆ
มาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้น ๆ แล้ว
เริ่มตั้งแต่การคิดค้น (Invention) การพัฒนา (Development)
ซึ่งอาจจะเป็นไปในรูปของ โครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project) แล้วจึงนำไปปฏิบัติจริง
ซึ่งมีความแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา
มอร์ตัน (Morton,J.A.) ให้ความหมาย “นวัตกรรม” ว่าเป็นการทำให้ใหม่ขึ้นอีกครั้ง(Renewal)
ซึ่งหมายถึง
การปรับปรุงสิ่งเก่าและพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ตลอดจนหน่วยงาน หรือองค์การนั้น
ๆ นวัตกรรม ไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมดไป แต่เป็นการ
ปรับปรุงเสริมแต่งและพัฒนา(boonpanedt01.htm)
กิดานันท์ มลิทอง (2540 : 245) ได้กล่าวไว้ว่า
นวัตกรรมเป็นแนวความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ
ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อนหรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้
ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น
เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและ
ประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วยประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย
ดังนั้น นวัตกรรม หมายถึง
การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยที่ยังไม่มีมาก่อนหรือดัดแปลงจากของเดิมอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้น
เทคโนโลยี (Technology)
ผดุงยศ ดวงมาลา (2523
: 16) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีว่าปัจจุบันมีความหมายกว้างกว่ารากศัพท์เดิม
คือ หมายถึงกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรกล สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ทาง อุตสาหกรรม
ถ้าในแง่ของความรู้ เทคโนโลยีจะหมายถึง
ความรู้หรือศาสตร์ที่เกี่ยวกับเทคนิคการผลิตในอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่น ๆ
ที่จะเอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ หรืออาจสรุปว่า เทคโนโลยี คือ
ความรู้ที่มนุษย์ใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์แก่มนุษย์เอง ทั้งในแง่ความเป็นอยู่และการควบคุมสิ่งแวดล้อม
ธรรมนูญ โรจนะบุรานนท์ (2531 : 170) กล่าวว่า เทคโนโลยี คือ
ความรู้วิชาการรวมกับความรู้วิธีการ
และความชำนาญที่สามารถนำไปปฏิบัติภารกิจให้มีประสิทธิภาพสูง
โดยปกติเทคโนโลยีนั้นมีความรู้วิทยาศาสตร์รวมอยู่ด้วย นั้นคือวิทยาศาสตร์เป็นความรู้
เทคโนโลยีเป็นการนำความรู้ไปใช้ในทางปฏิบัติ จึงมักนิยมใช้สองคำด้วยกัน คือ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเน้นให้เข้าใจว่า
ทั้งสองอย่างนี้ต้องควบคู่กันไปจึงจะมีประสิทธิภาพสูง
ชำนาญ เชาวกีรติพงศ์ (2534 : 5) ได้ให้ความหมายสั้น ๆ ว่า เทคโนโลยี
หมายถึง วิชาที่ว่าด้วยการประกอบวัตถุเป็นอุตสาหกรรม หรือวิชาช่างอุตสาหกรรม
หรือการนำเอาวิทยาศาสตร์มาใช้ในทางปฏิบัติ
จากการที่มีผู้ให้ความหมายของ เทคโนโลยีไว้หลากหลาย
สรุปได้ว่า เทคโนโลยี หมายถึง วิชาที่นำเอาวิทยาการทางวิทยาศาสตร์และศาสตร์อื่น ๆ
มาประยุกต์ใช้ตามความต้องการของมนุษย์ เช่น โรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น
ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงกล่าวถึงความหมายของเทคโนโลยีเป็นภาษา ง่าย ๆ
ว่า หมายถึง การรู้จักนำมาทำให้เป็นประโยชน์นั่นเอง (เย็นใจ เลาหวณิช. 2530 : 67)
ดังนั้น เทคโนโลยี หมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์
เหมาะสมกับความต้องการของมนุษย์
เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information
Technology)
บีแฮนและโฮลัมส์
ให้ความหมายไว้ว่า "เทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึง
เทคโนโลยีที่ทำให้มนุษย์สามารถสร้างระบบสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จนทำให้เกิดประสิทธิผลและประโยชน์อย่างมหาศาล ได้แก่ การใช้ทำเบียนข้อมูล
การจัดเก็บ การประมวลผลการค้นคืน การส่งและรับสารสานเทศต่าง ๆ
ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ต่าง ๆ เช่น คอมพิวเตอร์ โทรสาร โทรคมนาคม
และไมโครอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งเทคโนโลยีเดิมที่ใช้ในระบบจัดเรียงเอกสาร เครื่องทำบัญชีอัตโนมัติ
เป็นต้น"
ลูคัส จูเนียร์ (Lucas,JR
1997 : 7 ) กล่าวว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง
รูปแบบของเทคโนโลยีทุกประเภท ที่นำมา ประยุกต์ใช้ เพื่อการประมวลผล การจัดเก็บ
กมลรัฐ อินทรทัศน์
(2550) ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ
หมายถึง การนำเทคโนโลยีมาใช้สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสารสนเทศทำให้สารสนเทศมีประโยชน์
และใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศ
ยังเอื้อประโยชน์ทำให้การสื่อสารกัน และกันของมนุษย์ทำได้อย่างไร้ขีดจำกัดมากขึ้น
ทั้งนี้อาจแบ่งประเภทของเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารออกเป็นประเภทหลัก ๆ ได้ 3 ประเภท คือ อินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต และเวิร์ล ไวด์ เว็บ
ดังนั้น เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การนำเทคโนโลยีมาใช้
เพื่อให้เกิดประสิทธิผลและประโยชน์
และใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น
ประโยชน์ของนวัตกรรมเทโนโลยีสารสนเทศ
1. ทำให้เกิดการเรียนรู้ได้เร็วขึ้น
2. ทำให้ได้รับประสบการณ์ที่หลากหลายจากการาเรียนรู้
3. ไม่ทำให้เกิดความเบื่อหน่ายในการเรียน
4. ทำให้โลกของผู้เรียนกว่างขึ้นไม่จำกัดอยู่แต่ในวงแคบ
ๆของการศึกษาแบบเก่า
5.เป็นการเปิดโอกาสให้เด็กกลายเป็นผู้ที่มีความคิดที่อยากจะเป็นนักพัฒนาและมีความคิดสร้างสรรค์
การเกิดของนวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ
การก่อเกิดนวัตกรรมประเภทต่าง ๆ ในปัจจุบัน
ล้วนมาจากการพัฒนาสื่อและเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา คือ
1. การรวมตัวของสื่อ
2. สื่อขนาดเล็ก
3. ความก้าวหน้าของคอมพิวเตอร์
4. ระบบการสื่อสารโทรคมนาคม
5. เทคโนโลยีสารสนเทศ Information
Technology : IT
6. อินเทอร์เน็ต และเวิลด์ไวด์เว็บ (Internet
& World Wide Web : www)
7. ทางด่วนสารสนเทศ (Information
Superhighway)
8. การบันทึกความจำด้วยแสง (Optical
memory)
ตัวอย่าง
ตัวอย่าง 2
ความแตกต่างระหว่างนวัฒกรรมกับเทคโนโลยี
นวัตกรรม
ความหมายของ นวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation )” หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา
และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม
เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษา และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย
ในปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากมายหลายอย่าง
ซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันอย่างแพร่หลายแล้ว และประเภทที่กำลังเผยแพร่ เช่น
การเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Aids Instruction) การใช้แผ่นวิดีทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ
( Hypermedia ) และอินเทอร์เน็ต [Internet] เหล่านี้ เป็นต้น “นวัตกรรมทางการศึกษา” (Educational Innovation) หมายถึง
การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ
รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน
และช่วยให้ประหยัดเวลา